วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษk_ koy

จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเมืองโบราณตั้งแต่สมัยขอม จะเห็นได้จากโบราณสถานสมัยขอมที่ยังปรากฏอยู่ แต่ต่อมาขอมได้เสื่อมอำนาจลงในปลายสมัย
กรุงศรีอยุธยาชาวไทยพื้นเมืองที่เรียกตัวเองว่า “กวย” หรือ “กูย” ได้อพยพข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวา ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๒๕๖ และได้แยกย้ายกันออกไป 
๖ กลุ่ม กลุ่มที่มี “ตากะจะ” และ”เชียงขัน” ได้มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกลำดวน 
     ในปี พ.ศ. ๒๓๐๖ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้โปรดเกล้าฯ ยกบ้านโคกลำดวนหรือบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวนขึ้น
เป็นเมือง และโปรดเกล้าฯ ให้ตากะจะ หรือหลวงแก้วสุวรรณ เป็นพระไกรภักดี ศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ต่อมาเมืองนี้ได้ชื่อว่า “เมืองขุขันธ์” ใน พ.ศ. 
๒๓๒๑ สมัยพระเจ้าธนบุรี หลังจากเสร็จสงครามกับเวียงจันทน์ มีความชอบจึง โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าเมือง เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน
และในปีเดียวกันนั้น เจ้าเมืองขุขันธ์ถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงปราบ (เชียงขัน) เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์ ต่อมาเมืองขุขันธ์กันดารน้ำ จึงอพยพย้ายไปตั้งเมืองอยู่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ปัจจุบัน
     ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ พระภักดีภูธรสงคราม (ท้าวอุ่น) ปลัดเมืองขุขันธ์ ขอตั้งบ้านโนนสามขา สระกำแพงใหญ่ขึ้นเป็น “เมืองศรีสะเกษ” พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระภักดีภูธรสงครามเป็นพระยารัตนวงศา เจ้าเมืองศรีสะเกษ ขึ้นกับเมืองขุขันธ์     
     ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕ ได้ย้ายที่ทำการเมืองขุขันธ์มาตั้งอยู่ที่เมืองศรีสะเกษ (ที่บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเหนือ) แต่ยังคงใช้ชื่อว่าเมืองขุขันธ์ และยุบเมืองขุขันธ์เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ (อำเภอขุขันธ์ปัจจุบัน) ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้เปลี่ยนชื่อ
มณฑลอีสาน เป็นมณฑลอุบล มีเมืองขึ้นตรงต่อมณฑลนี้ ๓ เมือง คือ อุบลราชธานี ขุขันธ์ และสุรินทร์ จึงรวมเมืองศรีสะเกษ ขุขันธ์ และเดชอุดม
เป็นเมืองขุขันธ์ โดยมีศาลากลางอยู่ที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ 
     ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เมื่อยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลได้เปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์เป็นจังหวัดขุขันธ์ และในปี พ.ศ.๒๔๘๑ได้เปลี่ยนชื่อเมืองขุขันธ์เป็น
จังหวัดขุขันธ์ และในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์เป็น

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รัฐโบราณในดินแดนไทย

รัฐโบราณในดินแดนไทย

จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว โดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน
ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

รัฐ หมายถึง เมือง แคว้น แบ่งเป็น2ลักษณะ คือ
1.เเคว้น เกิดจากการรวมตัวอย่างหลวมๆของรัฐ อาศัยความสัมพันธ์ระบบเครือญาติของผู้นำ

2.อาณาจักร เกิดจากการรวมตัวอย่างเป็นปึกแผ่น ถือว่ากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด มีรัฐที่สำคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7-19 ได้แก่ แคว้นตามพรลิงค์  อาณาจักรทวารวดี  อาณาจักรศรีวิชัย  แคว้นละโว้  แคว้นหริภุญชัย